D2C คืออะไร? กลยุทธ์ขายตรงสู่ลูกค้ายุคใหม่

D2C คืออะไร? โมเดลการขายตรงถึงมือลูกค้าโดยไม่ง้อ Marketplace

ในยุคที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าและแบรนด์ได้โดยตรงผ่านช่องทางดิจิทัล D2C (Direct to Consumer) ได้กลายเป็นโมเดลธุรกิจที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง โดยเฉพาะสำหรับแบรนด์ที่ต้องการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้อย่างใกล้ชิด ควบคุมกำไร และพัฒนาประสบการณ์ของผู้ซื้อได้อย่างเต็มรูปแบบ 

บทความนี้จะพาคุณไปทำความเข้าใจว่า D2C คืออะไร แตกต่างจาก Marketplace อย่างไร มีข้อดีอย่างไรบ้าง และแบรนด์ควรใช้ D2C ร่วมกับกลยุทธ์ Marketplace อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมตัวอย่างแนวทางปฏิบัติจริงสำหรับตลาดไทย 

เข้าใจ D2C โมเดลการขายตรงสู่ผู้บริโภค

D2C (Direct to Consumer) คือโมเดลธุรกิจที่แบรนด์ขายสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าโดยตรง โดยไม่ผ่านตัวแทนจำหน่าย ร้านค้าปลีก หรือ Marketplace 

ช่องทางที่นิยมใช้ในการทำ D2C ได้แก่: 

  • เว็บไซต์แบรนด์ (เช่น Shopify, WooCommerce) 

  • Social Commerce (Facebook, Instagram, LINE OA) 

  • Application ของแบรนด์ 

  • ช่องทางไลฟ์สด หรือ Influencer Owned Store 

สิ่งที่ทำให้ D2C น่าสนใจ คือแบรนด์สามารถออกแบบระบบทั้งหมดได้เอง ตั้งแต่หน้าร้าน (UX/UI) รูปแบบการสื่อสารกับลูกค้า ระบบจัดการออเดอร์ ไปจนถึงการเก็บข้อมูลเชิงลึก (First-party data) เพื่อนำไปวางแผนต่อยอดธุรกิจ  

ความแตกต่างระหว่าง D2C และ Marketplace

ด้านเปรียบเทียบ

D2C

Marketplace

การควบคุมแบรนด์ 

สูงมาก (ออกแบบทุกอย่างเอง) 

ต่ำกว่า (ขึ้นอยู่กับกฎของแพลตฟอร์ม) 

ค่าธรรมเนียม 

ต่ำ (จ่ายเฉพาะระบบที่ใช้) 

สูง (มีค่าธรรมเนียมต่อยอดขาย + โฆษณา) 

การเข้าถึงลูกค้า 

ต้องสร้าง Traffic เอง 

มีฐานลูกค้าเดิมจำนวนมาก 

ความสัมพันธ์กับลูกค้า 

มีข้อมูลลูกค้าเต็มรูปแบบ 

จำกัด (บางแพลตฟอร์มไม่ให้ข้อมูลลูกค้า) 

ความน่าเชื่อถือเบื้องต้น 

เริ่มจากศูนย์ 

ผู้ซื้อเชื่อมั่นในระบบของแพลตฟอร์ม 

ประโยชน์ของ D2C ต่อแบรนด์ระยะยาว 

  • เก็บข้อมูลลูกค้าได้ละเอียด: เช่น พฤติกรรมการซื้อ, อัตราการเปิดอีเมล, การใช้คูปอง ซึ่งสามารถนำไปวางแผนสินค้าใหม่หรือโปรโมชันเฉพาะกลุ่มได้ 

  • ทำ CRM และ Remarketing ได้ตรงจุด: สร้างกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เช่น ลูกค้าใหม่, ลูกค้า VIP, ลูกค้าที่ไม่ได้ซื้อซ้ำภายใน 90 วัน เป็นต้น 

  • กำไรต่อหน่วยสูงขึ้น: ไม่มีค่าธรรมเนียมชั้นกลางหรือส่วนแบ่งยอดขาย ทำให้ควบคุม Margin ได้มากขึ้น 

  • ควบคุมต้นทุนการตลาดได้ดีขึ้น: แบรนด์สามารถคำนวณ CAC (Customer Acquisition Cost) และ ROI ได้แม่นยำกว่าการขายใน Marketplace 

  • พัฒนา Customer Experience: เช่น การใส่ของแถมเฉพาะลูกค้าประจำ การนำเสนอสินค้าแบบ Bundling หรือสร้างหน้า Landing Page ที่รองรับการค้นหาจาก SEO ได้ดี 

กลยุทธ์ D2C สำหรับธุรกิจในไทย 

แม้ว่า D2C จะดูเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสำหรับแบรนด์ใหญ่ แต่แบรนด์ขนาดเล็กและ SME ก็สามารถเริ่มต้นใช้กลยุทธ์นี้ได้เช่นกัน โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนสูง เพียงวางแผนให้ชัดเจนและค่อย ๆ ขยาย 

แนวทางแนะนำ: 

  • เริ่มต้นจากแพลตฟอร์มที่ต้นทุนต่ำ เช่น LINE OA หรือ Facebook Shop 

  • ใช้บริการ Payment Gateway ที่รองรับหลายธนาคาร เช่น Omise, 2C2P 

  • ทดลองใช้ระบบ Fulfillment และคลังสินค้าภายนอกก่อนสร้างทีมในบ้าน 

  • ทำ A/B Testing สำหรับหน้า Landing Page หรือแคมเปญ Email เพื่อเพิ่ม Conversion Rate 

การทำ D2C ในไทยยังมีความท้าทายเรื่องการสร้าง Traffic และความเชื่อมั่น แต่ก็สามารถใช้ Content Marketing และการยิงโฆษณาแบบ Retargeting เข้ามาช่วยได้ 

โซลูชัน D2C + Marketplace กับ One-Stop Ecommerce 

D2C สามารถช่วยควบคุมแบรนด์ได้มากขึ้น ส่วน Marketplace จะช่วยให้แบรนด์เข้าถึงลูกค้าได้ไว การใช้ทั้ง 2 ช่องทางควบคู่กันจึงเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสมสำหรับการสร้างแบรนด์และยอดขายระยะยาว 

ตัวอย่างการใช้งานควบคู่: 

  • ขายสินค้าทั่วไปใน Marketplace และขายสินค้าพิเศษเฉพาะช่องทาง D2C เช่น Collection Limited Edition 

  • ใช้แคมเปญ Flash Sale ใน Marketplace เพื่อดึง Traffic และนำเสนอสิทธิพิเศษใน D2C เพื่อเปลี่ยนลูกค้าให้เป็น “ลูกค้าประจำ” 

  • เชื่อมระบบหลังบ้าน (Inventory, Fulfillment, CRM) ระหว่างทั้ง 2 ช่องทาง เพื่อไม่ให้ข้อมูลและการทำงานซ้ำซ้อน 

หากคุณต้องการวางกลยุทธ์แบบ D2C อย่างมืออาชีพ พร้อมมีทีมช่วยดูแลแบบครบวงจร ลองดูบริการของเราที่นี่: 👉 บริการอีคอมเมิร์ซครบวงจรจาก transcosmos​